การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

  บุคคลหลายคนผู้มีความเกี่ยวข้องกับบริษัททุกคนมีส่วนช่วยสนับสนุนความสำเร็จโดยรวมของเราในระดับมากบ้างน้อยบ้าง การมีส่วนช่วยสนับสนุนของคนเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญและสมควรได้รับการยอมรับ ด้วยการทำให้มั่นใจว่า บริษัทให้การพิจารณาสิทธิของลูกจ้างอย่างพอเพียง ผู้มีส่วนได้เสียนี้รวมถึงเจ้าหนี้ ภาครัฐและภาคเอกชน บริษัทในเครือ รวมทั้งผู้บริหารบริษัท พนักงานประจำที่สำนักงาน และลูกจ้าง ทุกคน มีส่วนช่วยสนับสนุนความสำเร็จสูงสุดของบริษัท





ลูกค้า

    บริษัทพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุดด้วยการเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย และให้ความสำคัญอย่างมากกับการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าหรือของผู้บริโภคโดยทันที บริษัทพยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนกับลูกค้า

คู่แข่งทางธุรกิจ

    บริษัทมีนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อคู่แข่งในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ เป็นธรรมและโปร่งใส บริษัทจะไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของคู่แข่ง ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งโดยเจตนา ไม่ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลความลับจากคู่แข่งอย่างไม่เหมาะสม หรือไม่มีส่วนร่วมในการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมด้วยการทุ่มตลาด กลั่นแกล้ง หรือบีบบังคับให้ออกจากตลาด และในปีที่ผ่านมา บริษัทไม่มีข้อพิพาทกับคู่แข่งทางธุรกิจ

คู่ค้าทางธุรกิจ

    เพื่อที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุดในการจัดหาวัตถุดิบและรักษามาตรฐานคุณภาพสูงสุด บริษัทจะทำและรักษาสัญญาอย่างเสมอภาคกับคู่ค้าทางธุรกิจเพื่อสร้างความจงรักภักดีและไมตรีจิตต่อบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการซัพพลายเออร์ ซึ่งกำหนดอย่างชัดเจนถึงความรับผิดชอบของบริษัท รวมถึงการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อคู่ค้า บริษัทส่งเสริมให้การศึกษาและสนับสนุนความตระหนักรู้ในหมู่คู่ค้าทางธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายและการนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการคัดเลือก การขึ้นทะเบียน การประเมินและการตรวจสอบคู่ค้าทางธุรกิจ ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่ได้มีการจัดทำขึ้นใหม่นี้ ฝ่ายจัดซื้อได้มีการจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือก การขึ้นทะเบียน การประเมินและการตรวจสอบขึ้นมาใหม่ บริษัทคาดหวังว่าจะได้รับสินค้าและบริการในลักษณะเดียวกันและพยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนกับคู่ค้าทางธุรกิจ

เจ้าหนี้

    บริษัทมีนโยบายในการทำธุรกิจกับเจ้าหนี้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และเป็นธรรม บริษัทจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่มีในข้อตกลง และกฎหมายและกฎระเบียบทั้งหมดที่ใช้บังคับอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม บริษัทจะแจ้งเจ้าหนี้ทันทีเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน บริษัทจะดำเนินธุรกิจด้วยวิธีการที่ยั่งยืนเพื่อให้ได้รับความเชื่อมั่นจากเจ้าหนี้และบรรลุผลประโยชน์สำหรับทั้งสองฝ่ายอยู่เสมอ

การบริการและการพัฒนาชุมชน

    บริษัทคำนึงถึงความต้องการของชุมชนและส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่นใกล้เคียงกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาการศึกษา วัฒนธรรม สังคม และมีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตในชุมชน บริษัทส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนเพื่อสาธารณะประโยชน์โดยสมัครใจ

การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และทรัพย์สินทางปัญญา

    เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ บริษัทจึงกำหนดนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ดังนี้

    1:  บริษัทจะตรวจสอบให้แน่ใจอยู่เสมอว่า ข้อมูลที่ใช้ในบริษัทจะไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
    2:  บริษัทจะให้ความมั่นใจว่า กรรมการบริหาร ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์
    3:  บริษัทไม่อนุญาตและไม่สนับสนุนให้กรรมการบริหาร ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในธุรกิจของบริษัท
    4:  ทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ใดๆ ที่เกิดจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายงาน การฝึกอบรม หรือการสอนพิเศษที่บริษัทให้กับกรรมการบริหาร ผู้บริหาร และพนักงานจะตกเป็นของบริษัท
    5:  บริษัทจะไม่อนุญาตให้กรรมการบริหาร ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทใช้ทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ของบริษัทเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

นโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น

   คณะกรรมการบริษัทต้องตระหนักถึงความสำคัญต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นและรับรองว่ามีการกำกับดูแลกิจการที่ดีในแง่ของการดำเนินงานตามวิธีปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการและกฏหมายที่เกี่ยวข้องตามแนวทางของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทจึงได้จัดทำนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ดังนี้

    1:  กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการคอร์รัปชั่น การติด/ให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน เช่น คนจากต่างบริษัทที่ทำธุรกรรมกับบริษัททั้งโดยตรงและโดยอ้อมเพื่อให้ได้มาหรือรักษาประโยชน์ทางธุรกิจหรือทางการแข่งขันหรือเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือของครอบครัว พวกพ้อง หรือคนรู้จัก
    2:  ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานรับของขวัญไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมจากผู้จัดหา คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้ที่ทำการติดต่อที่เกี่ยวข้องไม่ว่าในหน่วยงานรัฐหรือเอกชน
    3:  ไม่มีระบบอุปถัมภ์หรือผูกขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือของพวกพ้อง
    4:  ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และผู้บังคับบัญชาขอหรือรับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนในรูปแบบใดก็ตามจากพนักงานซึ่งส่งผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน
    5:  การจัดซื้อ/การจัดซื้อจัดจ้างจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการอนุมัติของบริษัทที่มีความโปร่งใส ผ่านการตรวจสอบ และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
    6:  ใบสั่งซื้อ/จัดซื้อจัดจ้างต้องไม่มีการแยกย่อยเพื่อลดทอนจำนวนเงินให้ต่ำกว่าจำนวนที่จำกัดในการอนุมัติ
    7:  หากพนักงานคนใดสงสัยการกระทำใดที่อาจเป็นการติดสินบนหรือคอร์รัปชั่น ให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือช่องทางการแจ้งเบาะแสดังต่อไปนี้
       – ประธานกรรมการตรวจสอบ: auditcommittee@metco.co.th
       – กรรมการตรวจสอบ: auditcommittee@metco.co.th
       – ประธานกรรมการบริหาร: whistleblow@metco.co.th
       – รองประธานกรรมการบริหาร: whistleblow@metco.co.th
       – ผู้ตรวจสอบภายใน: internalaudit@metco.co.th
       – กล่องแดงแจ้งเบาะแส ในแต่ละโรงงาน
    (กรุณาระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้)

    8:  บริษัทจะเก็บข้อมูลชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นใดของผู้แจ้งเบาะแสไว้เป็นความลับ และจำกัดให้เฉพาะผู้เกี่ยวข้องในการตรวจสอบเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อมูลได้
    9:  หากกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานคอร์รัปชั่นหรือฉ้อฉล จะถูกเลิกจ้างและได้รับโทษทางวินัยขั้นสูงสุด และดำเนินการตามกฏหมาย
    10:  ผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่เพิกเฉยต่อการกระทำผิดใด หรือรับรู้แต่ไม่ดำเนินการตามนโยบาย จะถูกเลิกจ้างและได้รับโทษทางวินัยขั้นสูงสุด
    11:  การเพิกเฉยต่อนโยบายนี้และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะไม่ถือเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามกฎ
    12:  แผนกตรวจสอบภายในจะตรวจสอบระบบควบคุมภายในและกระบวนการต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อให้แน่ใจว่าระบบควบคุมภายในเพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นและการติดสินบนมีประสิทธิภาพ
    13:  กรณีที่มีข้อร้องเรียน คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและสอบสวนข้อเท็จจริง
    14:  บริษัท ต้องให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นและมาตรการป้องกันเหล่านี้ให้แก่พนักงาน

    การประเมินความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชัน

    คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตเป็นการทดลองตาม “แนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านการต่อต้านการทุจริต”ที่เผยแพร่โดยสำนักงานข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ โดยใช้แบบฟอร์ม “ตารางการประเมินความเสี่ยงการทุจริต” ภาคผนวก 1 ของเครื่องมือประเมินตนเองสำหรับการต่อต้านการติดสินบน แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้าน การทุจริต โดยคณะกรรมการรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีเรื่องการบริหารความเสี่ยง (ดูสรุป ในหน้า 39 “ปัจจัยความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง” ในรายงานประจำปีนี้) จากนั้น บริษัทจะจัดทำขั้นตอนปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตประจำปีพร้อมกับมาตรการต่อต้านการทุจริตเชิงปฏิบัติ บริษัทไม่พบประเด็นเกี่ยวข้องกับการทำผิดเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน

    การฝึกอบรมและการสื่อสาร

    บริษัทจัดโปรแกรมการให้ความรู้แก่พนักงานทุกคน เช่น เข้าปฐมนิเทศสำหรับพนักงานใหม่และการมีส่วนร่วมในโปรแกรมหลักพื้นฐาน สำหรับพนักงานที่มีอยู่เดิม การฝึกอบรมการต่อต้านการคอร์รัปชั่นเหล่านี้ครอบคลุมนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นของบริษัทและนโยบาย ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจรรยาบรรณของบริษัท รวมถึงคู่มือเชิงปฏิบัติสำหรับช่องทางการแจ้งเบาะแสที่กำหนดในบริษัท พนักงานของบริษัทได้ผ่านการอบรมแล้วในอัตราร้อยละ 100

การแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน

    บริษัทมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร้องเรียนการกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย ผิดจริยธรรม หรือไม่ถูกต้องต่อบริษัท ซึ่งรวมถึงการคอร์รัปชัน ตลอดจนพฤติกรรมใดที่ผิดต่อจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งกระทำโดยกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานคนใดของบริษัท พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อกังวล รายงาน คำแนะนำและคำร้องเรียน เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแก่ณะกรรมการบริษัทผ่านช่องทางต่อไปนี้

สำหรับพนักงาน:
    1. หัวหน้าหน่วยของพนักงาน
    2. คณะกรรมการตรวจสอบ: auditcommittee@metco.co.th
    3. คณะกรรมการบริษัท: whistleblow@metco.co.th
    4. หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน: internalaudit@metco.co.th
    5. กล่องแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน

สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:
    1. อีเมล: whistleblow@metco.co.th
    2. เว็บไซต์: www.metco.co.th

    กระบวนการในการจัดการกับเรื่องที่ร้องเรียน

   เลขานุการของบริษัทจะรวบรวมและส่งคำร้องเรียนไปยังคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัทตามความเกี่ยวข้อง บริษัทมีนโยบายและกลไกในการเก็บรักษาข้อร้องเรียนดังกล่าวไว้เป็นความลับ ให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียนโดยสุจริตจากการถูกไล่ออก ลดตำแหน่ง พักงาน ข่มขู่ คุกคาม หรือการกระทำอื่นใดที่ไม่เป็นธรรมต่อพนักงาน และจะตอบกลับบุคคลดังกล่าวตามความเหมาะสม

    ในปี 2566 คณะกรรมการบริษัท ไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนใดๆ ผ่านช่องทาง whistleblowing

การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ

PAGETOP
Copyright © MURAMOTO ELECTRON(THAILAND) PUBLIC COMPANY LIMITED All Rights Reserved.