นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ 

คณะกรรมการบริษัทปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันขันแข็ง โดยอันดับแรกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อันดับที่สองต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ และกฎของบริษัท และอันดับที่สามปฏิบัติตามความพึงพอใจของผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการบริษัทยังมีส่วนในการกำหนดทิศทางในอนาคตและควบคุมดูแลบริษัท เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ

คณะกรรมการบริษัทต้องแน่ใจว่าการดําเนินงานของบริษัทเป็นไปตามนโยบายและสามารถปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ครบถ้วน และมีการประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทุกคนทราบถึงนโยบายการกำกับดูแลกิจการผ่านระบบสารสนเทศและผ่าน website ของบริษัท

ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทจึงได้จัดทำนโยบายกำกับดูแลกิจการซึ่งกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทจะใช้เป็นแนวทางในการทำงาน และมีการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติเป็นประจำทุกปี โดยมีเนื้อหาครอบคลุม 5 หมวดดังนี้

  1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
  2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นโดยเท่าเทียมกัน
  3. บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
  5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

1) เข้าใจและเคารพสิทธิในการครอบครองของผู้ถือหุ้น เช่น การค้าหรือการโอนหุ้น การรับส่วนแบ่งผลกำไรจากบริษัท การได้รับข้อมูล อย่างเพียงพอจากบริษัท การเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อออกเสียงแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการ การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี และเรื่องอื่นใดที่ส่งผลต่อบริษัท เช่น การจัดสรรเงินปันผล การกำหนดหรือแก้ไขข้อบังคับของบริษัทและหนังสือบริคณห์สนธิ การลดหรือ เพิ่มทุน และการอนุมัติเป็นกรณีพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น

2) ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม ยกตัวอย่างเช่น ให้โอกาสผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอชื่อผู้เข้ารับตำแหน่งกรรมการล่วงหน้า ในเวลาอันสมควร ให้โอกาสผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในการใช้สิทธิให้ผู้รับมอบอำนาจเข้าร่วมประชุมและออกเสียง ให้โอกาสผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอวาระเพิ่มเติมก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น

3) ดำเนินการป้องกันไม่ให้กรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่น เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในหรือการเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลใดๆที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ และผู้บริหาร ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม เป็นต้น

4) ดำเนินการเพื่ออนุญาตให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทเปิดเผยข้อมูลผลประโยชน์ของตนและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทสามารถพิจารณาได้ว่าธุรกรรมใดของบริษัทที่ขัดต่อผลประโยชน์และสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของบริษัทโดยรวมได้ อย่างไรก็ตาม กรรมการและผู้บริหารซึ่งมีผลประโยชน์จากธุรกรรมของบริษัทจะไม่มีส่วนในการตัดสินใจเรื่องธุรกรรมดังกล่าว

5) ดำเนินการตามกฎหมายหรือข้อตกลงที่ทำกับบริษัทโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง เจ้าหนี้ และสังคม โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากความต้องการส่วนตัว ของครอบครัว ญาติ หรือผู้อื่นซึ่งรู้จักเป็นการส่วนตัว

6) ประกอบธุรกิจโดยเน้นความสำคัญเรื่องความน่าเชื่อถือและความซื่อสัตย์ กรรมการและผู้บริหารต้องปฏิบัติงานของตนและปฏิบัติต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และเป็นธรรม

7) หลีกเลี่ยงธุรกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็นเหตุให้ขัดผลประโยชน์กับบริษัท

8) ดำเนินการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีช่องทางและขั้นตอนปฏิบัติในการรายงานหรือส่งคำร้องเรียนถึงคณะกรรมการบริษัทว่าด้วยการกระทำผิดกฎหมาย ความถูกต้องของรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายในที่บกพร่อง หรือเรื่องที่ผิดต่อหลักจริยธรรม รวมถึงสิทธิของผู้แจ้งเบาะแสต่อกลไกการคุ้มครอง

9) ดำเนินการด้านความรับผิดชอบทางสังคม โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

10) ดำเนินการเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและข่าวสารให้ถูกต้องและทันเวลาเพื่อที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถรับข้อมูลที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัท สถานะทางการเงิน และการพัฒนาที่สำคัญ ให้สอดคล้องตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

11) ดำเนินการต่อต้านการคอร์รัปชั่น การฉ้อฉล การละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์และเคารพกฎหมายและสิทธิมนุษยชน

12) ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าระบบควบคุมภายในและขั้นตอนการกำกับดูแลมีประสิทธิภาพ

13) คณะกรรมการบริษัทจะควบคุมการบริหารจัดการโดยรวมของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นโดยเท่าเทียมกัน บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสและความรับ ผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

 

การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ

PAGETOP
Copyright © MURAMOTO ELECTRON(THAILAND) PUBLIC COMPANY LIMITED All Rights Reserved.