ปัจจัยความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง

  • หน้าแรก »
  • »
  • ปัจจัยความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง

8. ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง

8-1: ความเสี่ยงของธุรกิจ

  บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2530 เพื่อผลิตสินค้าและชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ภายใต้วิสัยทัศน์ว่า “เรามุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านการผลิตที่ดีที่สุดในโลกโดยจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูงเพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับความพึงพอใจสูงสุด” โดยเริ่มต้นธุรกิจจากการรับจ้างผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอะไหล่รถยนต์ให้บริษัทอื่นบริษัทฯ ให้ความสำคัญแก่กลยุทธสร้างความแตกต่างโดยการพัฒนา EQCD ที่ยอดเยี่ยมและทำให้ลูกค้าพึงพอใจโดยการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น บริษัทฯ จึงเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จ สินค้าสำเร็จ และชิ้นส่วนคุณภาพสูงและจึงมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้

8-1-1:  ความเสี่ยงในการผลิต

ปัจจัยความเสี่ยง
  ความเสี่ยงในการผลิต ได้แก่ ความเสี่ยงที่จะเกิดสินค้าบกพร่องในกระบวนการผลิต แม้จะมีการตรวจสอบแล้วก็ตาม บริษัทฯ จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสินค้าบกพร่อง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของคน เครื่องจักร หรือวัตถุดิบจากผู้จัดจำหน่ายก็ตาม ในปัจจุบัน บริษัทฯ มีกิจกรรมที่หลากหลายตั้งแต่การผลิตอะไหล่อย่างง่ายไปจนถึงการประกอบสินค้าที่มีความซับซ้อนและมูลค่าสูง ดังนั้นจึงควรกำหนดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากคุณภาพของวัตถุดิบที่ซื้อจากผู้จัดจำหน่าย

การบริหารจัดการความเสี่ยง
  เพื่อรับประกันคุณภาพของวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการอะไหล่ชิ้นส่วนหลักและผู้จัดจำหน่ายอะไหล่อยู่เสมอ บริษัทฯมิเพียงแต่ประเมินคุณภาพ เทคโนโลยี ประสิทธิภาพ การจัดส่ง ราคาและความน่าเชื่อถือด้านอื่น ๆ ของผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงอย่างเดียวแต่ยังวิเคราะห์สถานภาพทางการเงินด้วย บริษัทฯ ได้ทำสัญญาการซื้อขายเบื้องต้นและสัญญารับประกันคุณภาพกับผู้จัดจำหน่ายผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารคุณภาพของสินค้า นอกจากนั้นในปี 2561 บริษัทฯ ยังได้เริ่มทำงานทบทวนเนื้อหาในสัญญาดังกล่าวและกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการผลิต

8-1-2:  ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์

ปัจจัยความเสี่ยง
    ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นพร้อมกับการใช้ผลิตภัณฑ์โดยผู้บริโภค เช่น อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้าที่บกพร่องที่บริษัทฯ จัดจำหน่าย

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    เพื่อป้องกันความเสี่ยงประเภทนี้ บริษัทฯ ได้ทบทวนคุณลักษณะและแบบของสินค้าด้วยความรอบคอบอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความรับผิดชอบของบริษัทฯ นั้นเกิดจากการผลิตสินค้าซึ่งออกแบบโดยลูกค้า ดังนั้นบริษัทฯจึงความรับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการออกแบบในขอบเขตที่ไม่มากเท่ากับที่ลูกค้ารับ

8-1-3:  ความเสี่ยงด้านสินค้าคงคลัง

ปัจจัยความเสี่ยง
    ความเสี่ยงด้านสินค้าคงคลัง คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ อะไหล่ และสินค้าในช่วงที่เก็บรักษาในโกดังสินค้า ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทฯ

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    บริษัทฯเอาใจใส่เป็นพิเศษในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพดี โดยใช้หลักการและวิธีการบริหารสินค้าคงคลัง ต่างๆ กันไป ในปัจจุบัน บริษัทฯได้จัดตั้งระบบใหม่ขึ้นเพื่อพัฒนาระบบบริหารสินค้าคงคลังให้ทันสมัยขึ้น

8-1-4:  ความเสี่ยงด้านเครดิต

ปัจจัยความเสี่ยง
    ความเสี่ยงด้านเครดิต ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าและผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบให้แก่บริษัทฯ ขาดความสามารถในการชำระหนี้

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    บริษัทฯ กำลังทำการตรวจสอบความสามาถในการชำระหนี้ของลูกค้าและผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบเป็นรายวันก่อนที่จะเริ่มการซื้อขายกับลูกค้าหรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบรายใหม่ บริษัทฯ จะตรวจสอบข้อมูลเครดิตอย่างรอบคอบในปีนี้ บริษัทฯ ได้จัดเตรียมและริเริ่มระบบควบคุมเครดิตใหม่ อันรวมไปถึงการตรวจสอบประวัติการชำระเงิน และเครดิตเรตติ้งของลูกค้า

8-1-5:  ความเสี่ยงจากสภาวะตลาด

ปัจจัยความเสี่ยง
    ความเสี่ยงจากสภาวะตลาดเกิดจากความเป็นไปได้ที่สินค้าที่ผลิตขึ้น อะไหล่ที่ซื้อมา และวัตถุดิบคงคลังจะไม่สามารถจำหน่ายออกไปได้ เนื่องจากสภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันหรือลูกค้ายกเลิกการสั่งซื้อ

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    นโยบายวัสดุคงคลังต่ำสุดซึ่งบริษัทฯได้นำมาใช้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดความเสี่ยงประเภทนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีเพื่อเผชิญความท้าทายต่างๆ และนำหน้าคู่แข่งในด้านคุณภาพและราคาอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น บริษัทฯตั้งเป้าหมายที่จะสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบผ่านทางการทำสัญญาการซื้อขายเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้ทั้งบริษัทฯ และผู้จัดจำหน่ายสามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีขึ้น

8-1-6:  ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน

ปัจจัยความเสี่ยง
    ในฐานะผู้ให้บริการด้านการผลิต บริษัทฯ ต้องแข่งขันไม่เพียงเฉพาะกับคู่แข่งที่มีรูปแบบธุรกิจเดียวกันเท่านั้น แต่จะต้องแข่งขันกับลูกค้าเองด้วยเพราะการผลิตของบริษัทฯ จะต้องดีกว่าหรืออย่างน้อยอยู่ในระดับเดียวกันกับของลูกค้า ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ บริษัทฯ จึงน่าจะแข่งขันกับคู่แข่งของลูกค้าเช่นกัน บริษัทฯ จึงเผชิญความเสี่ยงจากการแข่งขันในลักษณะนี้

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    เพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดในอุตสาหกรรมได้ บริษัทฯควรเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของตนดังนี้
    – มีวิธีการและเทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลายในฐานะผู้ให้บริการด้านการผลิต ซึ่งรวมถึงการปั๊มโลหะ การขึ้นรูปพลาสติก การทาสีและการพิมพ์ การติดตั้งบนพื้นผิวบน PCB การประกอบชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การออกแบบเบ้าหล่อและแม่พิมพ์ การผลิตเบ้าหล่อและแม่พิมพ์ และการชุบผิวโลหะ
    – มีการบูรณาการอย่างไร้รอยต่อของสายการผลิตที่หลากหลายของการประกอบชิ้นส่วนและ/หรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วิธีการและเทคโนโลยีที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้นด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
    – ความร่วมมือข้ามสายงานที่ประสานงานกันอย่างดีผ่านอดีตและประสบการณ์ที่ครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะการผลิต แต่ยังรวมถึงการขาย โลจิสติกส์ การจัดซื้อ และการจัดการ

8-1-7:  ความเสี่ยงด้านภาวะเศรษฐกิจ

ปัจจัยความเสี่ยง
    การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น เนื่องจากบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลายประเภท จึงมีความเสี่ยงต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะนี้ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกอาจเผชิญกับการชะลอตัวอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีน การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน ความผันผวนของเศรษฐกิจยุโรปจากการประสบประเด็นปัญหา Brexit ความตึงเครียดในตะวันออกกลางซึ่งก่อให้เกิดความผันผวนของราคาน้ำมัน เป็นต้น ธุรกิจของบริษัทอาจเผชิญกับความเสี่ยงที่แนวโน้มจะตกต่ำลง

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    การพัฒนาและทบทวนนโยบายและขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง เพื่อจัดการความเสี่ยงทั้งหมดข้างต้น บริษัทฯ จะเฝ้าระวังและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ บริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากผลกระทบเชิงลบจากเหตุการณ์ เช่น สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีน หากสงครามการค้าดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกใดๆ ด้วยการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกได้ บริษัทฯ ควรดำเนินการที่เหมาะสมโดยไม่ให้เสียโอกาส ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามภายใต้สถานการณ์ที่ผันผวนเช่นนี้บริษัทฯ ควรรักษากระบวนการตรวจสอบสถานะอย่างเข้มงวดก่อนตัดสินใจ

8-1-8:  ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนด

ปัจจัยความเสี่ยง
    ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทฯต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและ/หรือข้อบังคับดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ บริษัทและผู้บริหารอาวุโสของบริษัทอาจต้องโทษปรับหรือถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอื่นๆ นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท และอาจทำลายความไว้วางใจของลูกค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    นับตั้งแต่จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีในปี 2559 บริษัทฯได้ทำการปรับปรุงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เช่น “โครงการกำหนดระเบียบของบริษัทใหม่” โดยมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน ต่ออายุและกำหนดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯได้รับการรับรองคุณสมบัติระดับ 5 (ดีเลิศ”) ในรายงานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (CGR) 2565 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) บริษัทฯจะเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

8-1-9:  ความเสี่ยงด้านการทุจริต

ปัจจัยความเสี่ยง
    การทุจริตเป็นปัญหาร้ายแรงและเป็นอุปสรรคต่อความยั่งยืนของบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งทางการเงินและที่ไม่ใช่ทางการเงิน เช่น กำไร ค่าปรับ และชื่อเสียง การทุจริตอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาแม้ในกรณีที่บริษัทฯมีมาตรการและการควบคุมภายในที่เข้มงวดก็ตาม บริษัทฯ จึงควรใส่ใจและจัดการกับความเสี่ยงนี้

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น จรรยาบรรณองค์กร และนโยบายที่เกี่ยวข้อง และจัดให้มีโปรแกรมให้ความรู้แก่พนักงานทุกคน อีกทั้งบริษัทยังให้พนักงานและคู่ค้าทางธุรกิจมีช่องทางการแจ้งเบาะแสได้หลายทาง
ในปี 2562 บริษัทโดยผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตเป็นการทดลองตาม “คู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านการต่อต้านการทุจริต” ที่เผยแพร่โดยสำนักงานข้อตกลงแห่งประชาชาติโดยใช้แบบฟอร์ม “ตารางการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต” ภาคผนวก 1 ของเครื่องมือประเมินตนเองเพื่อต่อต้านการติดสินบน แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC)

8-2: ความเสี่ยงเชิงเทคโนโลยี

ปัจจัยความเสี่ยง
    ในโลกแห่งธุรกิจสินค้าอิเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ผู้บริโภคคาดหวังสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอและต้องการเร็วขึ้นๆ เรื่อยๆ

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    การผลิตชิ้นส่วนจะต้องดำเนินต่อไปในขณะที่จะต้องปรับตัวเข้ากับกระบวนการที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บริษัทฯ จะต้องลงทุนในหลายๆ ด้านเพื่อนำหน้าคู่แข่ง อันรวมไปถึงเครื่องจักรเทคโนโลยีสูง เครื่องวัด และการฝึกอบรมวิศวกร และคนงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงตามแผนธุรกิจระยะกลางนั้น บริษัทฯ จะทำการลงทุนและสำรองทุนไว้เพื่อการดังกล่าว เทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการทำแม่พิมพ์โลหะของบริษัทฯ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าพิเศษในทรัพยากรเทคโนโลยีของบริษัทฯ เป็นสิ่งสำคัญที่จะรับประกันการสั่งซื้อมูลค่าสูงจากลูกค้าและรักษาต้นทุนให้อยู่ในระดับต่ำ และบริษัทฯ ก็ได้ทำการขยายโปรแกรมฝึกอบรมพนักงานในเทคโนโลยีนี้

8-3: ความเสี่ยงด้านแรงงาน

ปัจจัยความเสี่ยง
    อุตสาหกรรมสินค้าอิเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นต้องพึ่งพาแรงงานเป็นอย่างสูงไม่เพียงแต่ช่างเทคนิคและวิศวกร แต่ยังรวมถึงแรงงานในสายการผลิตด้วย ถึงแม้ว่าบริษัทฯจะมีการนำเอาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้ก็ตาม แต่ก็ยังต้องพึ่งพาแรงงานและความสามารถของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    บริษัทฯ ให้ความสำคัญแก่พนักงานทุกระดับโดยการเสนอสวัสดิการที่มีมาตรฐานสูง ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างผู้บริหารและพนักงานซึ่งมีชื่อว่า CP&H Kai (คณะกรรมการเพื่อความสร้างสรรค์ พลัง และความสามัคคี) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ในปีที่ผ่านมา กฎระเบียบการทำงานของคณะกรรมการนี้ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก โดยการเพิ่มความร่วมมือจากทางฝั่งพนักงานมากขึ้น ซึ่งการประชุมร่วมกับคณะกรรมการชุดใหม่นี้ก่อให้เกิดการปรับแก้วิธีการปฏิบัติตนต่อพนักงานให้ดีขึ้นโดยทันที จากความสำเร็จดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงานสัมพันธ์และสวัสดิการต่อเนื่องเป็นปีที่ 15

8-4: ความเสี่ยงด้านการเงิน

ปัจจัยความเสี่ยง
  ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีการส่งออกมากมาย,ทั้งทางตรงและทางอ้อมไปยังต่างประเทศ รวมถึงวัตถุดิบอีกมากมาย และส่วนประกอบที่ไม่มีในไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่บริษัทจะถูกเปิดเผยในเรื่องของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    บริษัทฯ ได้พยายามที่จะเทียบรายรับเข้ากับรายจ่ายในสกุลเงินเดียวกันเพื่อลดกำไรขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่ในระดับที่รับได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังทำการลดความเสี่ยงโดยการศึกษาและนำเอาเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง Forward Booking มาใช้ บริษัทให้กำหนดนโยบายภายในและกฏระเบียบเพื่อกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าว ในเรื่องของความเสี่ยงที่มีต่อทรัพยากรทางการเงินนั้น บริษัทฯ ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศเพื่อรับประกันความสม่ำเสมอของทุนในระยะยาวเพื่อการขยายกิจการ ย้ายฐานการผลิต และแตกไลน์การผลิตในอนาคต

8-5: ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยความเสี่ยง
    บริษัทฯ ตระหนักอยู่เสมอถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านการประหยัดพลังงาน มิฉะนั้นบริษัทฯจะก่อความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น

การบริหารจัดการความเสี่ยง
    บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจการภายใต้ระบบ ISO 14001 มาเป็นเวลาหลายปี โดยในปี 2560 บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการได้การรับรองระบบฯ ในเวอร์ชั่นที่มีความทันสมัยมากขึ้น นอกจากนั้นในปี 2559 บริษัทฯ ยังได้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 ที่สนับสนุนโดยรัฐบาลไทย

    บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายภายในโดยกำหนดเป็น “วัตถุประสงค์และแผนปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2564” เพื่อให้สอดคล้องตามระบบฯ และการรับรองต่าง ๆ เหล่านี้ บริษัทฯ ยังดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดเป็นความยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการควบคุมสารเคมีและการจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้วด้วย

8-6: ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ

ปัจจัยความเสี่ยง
    บริษัทฯ อาจเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้หรือภัยธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้การผลิตหยุดชะงักและก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบริษัทฯ

การบริหารจัดการความเสี่ยง
   บริษัทฯ ได้ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินเพื่อลดความเสี่ยง ในปีนี้บริษัทฯ ได้ลดความเสี่ยงน้ำท่วมลงเป็นอย่างมากในวันฝนตกหนักโดยการปรับปรุงระบบท่อน้ำทิ้งรอบโรงงาน นอกจากนี้ บริษัทฯ อาจขอการสนับสนุนจากโรงงานอื่นๆ ในเครือเดียวกันทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศและต่างประเทศด้วย ทั้งนี้โดยอ้างอิงตามแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)

8-6-1: ความเสี่ยงจากการระบาดของโรค

ปัจจัยความเสี่ยง
  การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ยังมองไม่เห็นถึงจุดสิ้นสุดและไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการดำเนินงานของบริษัทได้

การบริหารจัดการความเสี่ยง
  บริษัทได้กำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขโดยการกระจายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการรักษาสุขอนามัยลงไปถึงตัวพนักงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการปฏิบัติตัวอย่าง       มีความถูกต้อง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคนำไปสู่การที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้บริษัทเองก็ทำการติดตามสถานการณ์และข่าวสารอย่างใกล้ชิด

  บริษัทส่งเสริมการฉีดวัคซีนของพนักงานทุกคนซึ่งจำนวนพนักงานที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วมากกว่าร้อยละ 99 และมีมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด -19 โดยการใช้ชุดตรวจ ATK สําหรับพนักงานทุกคนอย่างต่อเนื่อง                                                                          

8-7: ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจัยความเสี่ยง

   เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือภัยคุกคามทางเทคโนโลยีทีอาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจากความผิดพลาดของระบบ ข้อผิดพลาดของมนุษย์ และการโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น หากระบบสารสนเทศขัดข้องหรือประสบสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ข้อมูลสูญหายข้อมูลรั่วไหล การไม่ทำงานและ/หรือการทำงานผิดปกติอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงและร้ายแรงต่อบริษัทในด้านต่าง ๆ ทั้งการดำเนินงาน ความสามารถในการแข่งขัน ความน่าเชื่อถือ และในที่สุดชื่อเสียงในอุตสาหกรรม

การบริหารจัดการความเสี่ยง

  บริษัทฯ ได้มีการจัดทำระเบียบการจัดการระบบสารสนเทศและนโยบายความปลอดภัยด้าน IT ขึ้นใหม่ ภายใต้นโยบายและข้อบังคับเหล่านี้ บริษัทฯ ได้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย เช่น การติดตั้งไฟร์วอลล์, ฮาร์ดแวร์คู่แฝดที่ทำงานร่วมกัน, ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส, ซอฟต์แวร์แพทช์,สิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรองข้อมูล, การอนุญาตการเข้าถึงระบบที่สำคัญ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯยังสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยด้าน IT ให้กับพนักงานผ่านการให้การศึกษาและการฝึกอบรม และทำการประเมินความเสี่ยงและตรวจสอบเป็นประจำ 

PAGETOP
Copyright © MURAMOTO ELECTRON(THAILAND) PUBLIC COMPANY LIMITED All Rights Reserved.