นโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการของธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นการักษาสมดุลระหว่างการดำเนินธุรกิจและสิ่งแวดล้อมให้ควบคู่กัน
บริษัทได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การนำไปปฏิบัติอย่างครบถ้วนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การปกป้อง/ป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากการประกอบธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การใช้งานผลิตภัณฑ์และการจัดการซากผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังได้การรับรองระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14001) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
นอกจากนั้นบริษัทส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรม/โครงการ ด้านสิ่งแวดล้อมไม่ว่าเป็น การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมสีเขียวร่วมกันภายในบริษัท และจากการดำเนินการดังกล่าวบริษัทได้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 (วัฒนธรรมสีเขียว) ตั้งแต่ปี 2559 และการรับรองมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2558 และได้การรับรองต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
และในปี 2566 บริษัทตระหนักถึงความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐและคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทจึงได้จัดตั้งโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และแต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และกำหนดให้ปี 2564 เป็นปีฐาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทวนสอบ
ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
1.) การจัดการคุณภาพอากาศและเสียงรบกวน
บริษัทได้มีการควบคุมอัตราการระบายมลพิษทางอากาศ และเสียงรบกวนให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน โดยได้มีการกำหนดเป้าหมายในการควบคุมคุณภาพอากาศและเสียงรบกวนไม่ให้เกินค่ามาตรฐานและมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
– การติดตั้งระบบการกรองอากาศ เพื่อดักจับมลพิษที่เป็นอันตรายก่อนจะปล่อยออกปล่องระบายอากาศ ซึ่งสามารถกำจัดอนุภาค ก๊าซพิษ และสารอันตรายอื่น ๆ ออกจากโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– การจัดให้มีแผนการตรวจสอบและบำรุงเชิงป้องกันของอุปกรณ์หรือเครื่องจักร รวมถึงการควบคุมรถรับส่งพนักงานและรถขนส่งสินค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง มลพิษอากาศ และเสียงรบกวนอันก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อชุมชนรอบ ๆ โรงงาน
– การตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องระบายและคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปปีละ 2 ครั้ง และเสียงรบกวนปีละ 1 ครั้ง โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
หน่วย | 2566 | 2565 | 2564 | |
ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 100% (มีค่าไม่เกินมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด) | ร้อยละ | 100 | 100 | 100 |
ผลการตรวจวัดเสียงรบกวนเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 100% (มีค่าไม่เกินมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด) | ร้อยละ | 100 | 100 | 100 |
นอกจากนั้นบริษัทยังตระหนักถึงความเสี่ยงจากผลกระทบจากการหกรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีหรือจากการดำเนินงาน และการเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการภาครัฐเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายและผลการดำเนินงานดังนี้
รายละเอียด | หน่วย | 2566 | 2565 | 2564 |
อุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาที่สำคัญต้องเป็นศูนย์ (การหกรั่วไหลของน้ำมัน หรือสารเคมี หรือของเสียประเภทของเหลวบริเวณภายนอกอาคาร) | ครั้ง | 2 | 3 | 0 |
ไม่มีข้อร้องเรียนภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม (ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์) |
ครั้ง | 0 | 0 | 0 |
ไม่มีการแจ้งเตือนจากหน่วยงานราชการ (การแจ้งเตือนเป็นศูนย์) |
ครั้ง | 0 | 0 | 0 |