การจัดการขยะและของเสีย
บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญต่อการจัดการของเสียอุุตสาหกรรม เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชุมชน รวมถึงการดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง บริษัทให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรอย่างคุ้มค่าถึงที่สุดโดยดำเนินการตามหลัก 3Rs (Reuse, Reduce & Recycle) ในการใช้ประโยชน์ของของเสียอย่างคุ้มค่าทั้งในพื้นที่สำนักงานและกระบวนการผลิต รวมถึงการจัดการของเสียภายนอกบริษัทที่พิจารณาถึงศักยภาพการใช้ประโยชน์ของของเสียแต่ละประเภทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เหลือของเสียที่จะต้องบำบัด/กำจัดน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการนำของเสียจากกระบวนการผลิตไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero waste to Landfill) ควบคู่ไปกับเป้าหมายการจัดการของเสียโดยการนำของเสียไปใช้ประโยชน์ต่อ 100% ที่ไม่ใช่การกำจัดของเสียด้วยวิธีการเผาที่ไม่มีการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ (Incineration without Energy Recovery) หรือการจำกัดอื่น ๆ ที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อตามแนวทางที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด
บริษัทได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบและป้องกันผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัดโดยได้มอบหมายให้ผู้รับกำจัดภายนอกที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาดำเนินการในการกำจัดของเสีย และจัดทำรายงานปริมาณของเสีย เพื่อให้มั่นใจว่าของเสียได้รับการจัดการตามที่บริษัทกำหนดและสอดคล้องกับกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
รายละเอียด | หน่วย | 2566 | 2565 | 2564 |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมรวม | กิโลกรัม | 5,438,604.74 | 6,381,310.93 | 7,526,990.75 |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมด้วยวิธีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ (Reuse, Recycle) | กิโลกรัม | 5,390,284.74 | 6,273,406.93 | 7,283,250.75 |
ร้อยละ | 99.11 | 98.31 | 96.76 | |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมด้วยวิธีการกำจัดโดยที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อ หรือ นำไปฝังกลบ | กิโลกรัม | 48,320.00 | 107,904.00 | 243,740.00 |
ร้อยละ | 0.89 | 1.69 | 3.24 |
หมายเหตุ : การจัดการของเสียโดยวิธีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ (Reuse, Recycle) เช่น คัดแยกเพื่อจำหน่ายต่อ, ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน, ทำเชื้อเพลิงผสม เป็นต้น
ผลการดำเนินงานจัดการของเสียอุตสาหกรรม
ในปี 2566 ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่อันตรายลดลงจากปี 2565 เป็นจำนวน 804,163.19 กิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.01 และปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายลดลงจากปี 2565 เป็นจำนวน 138,543.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 21.67
รายละเอียด | หน่วย | 2566 | 2565 | 2564 |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่อันตรายรวม | กิโลกรัม | 4,937,775.74 | 5,741,938.93 | 7,046,881.75 |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายรวม | กิโลกรัม | 500,829.00 | 639,372.00 | 480,109.00 |
ปริมาณและสัดส่วนของเสียอุตสาหกรรมที่นำไปใช้ซ้ำ (Reuse), รีไซเคิล (Recycle)
ในปี 2566 ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย ที่สามารถนำไปใช้ซ้ำ (Reuse), รีไซเคิล (Recycle) เป็นจำนวน 4,910,810.74 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 99.45 ของปริมาณของเสียอุตสาหกรรมทั้งหมด และมีปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย สามารถนำไปใช้ซ้ำ (Reuse), รีไซเคิล (Recycle) เป็นจำนวน 479,474.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 95.74 ของปริมาณของเสียอุตสาหกรรมทั้งหมด
รายละเอียด | หน่วย | 2566 | 2565 | 2564 |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย ที่นำไปใช้ซ้ำ (Reuse), รีไซเคิล (Recycle) |
กิโลกรัม | 4,910,810.74 | 5,704,634.93 | 6,975,501.75 |
ร้อยละ | 99.45 | 99.35 | 98.99 | |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย ที่นำไปใช้ซ้ำ (Reuse), รีไซเคิล (Recycle) |
กิโลกรัม | 479,474.00 | 568,772.00 | 307,749.00 |
ร้อยละ | 95.74 | 88.96 | 64.1 |
ปริมาณและสัดส่วนของเสียอุตสาหกรรมที่นำไปฝังกลบ
ในปี 2566 ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่อันตรายที่นำไปฝังกลบ เป็นจำนวน 26,965 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของปริมาณของเสียอุตสาหกรรมทั้งหมด และปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายที่นำไปฝังกลบ เป็นจำนวน 21,355 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 4.26 ของปริมาณของเสียอุตสาหกรรมทั้งหมด
รายละเอียด | หน่วย | 2566 | 2565 | 2564 |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่อันตรายที่นำไปที่นำไปฝังกลบ | กิโลกรัม | 26,965.00 | 37,304.00 | 71,380.00 |
ร้อยละ | 0.55 | 0.65 | 1.01 | |
ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายที่นำไปที่นำไปฝังกลบ | กิโลกรัม | 21,355.00 | 70,600.00 | 88,115.00 |
ร้อยละ | 4.26 | 11.04 | 18.35 |