นโยบายบริษัท คือ การรักษาพนักงานเพื่อให้บรรลุมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่เหมาะสมที่สุด มุ่งเน้นการให้ความเท่าเทียมกัน การพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ พนักงานทุกคนได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับความพยายามของตน การจ่ายค่าจ้างของบริษัท รวมถึงค่าแรงขั้นต่ำ ค่าทำงานล่วงเวลา และสวัสดิการอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นไปตามข้อกําหนดทางกฎหมายทั้งหมด กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เป็นหนึ่งในโครงการผลประโยชน์ระยะยาวที่สำคัญ ที่บริษัทมอบให้กับลูกจ้าง เพื่อช่วยให้ลูกจ้างออมเงินส่วนหนึ่งของเงินเดือน สำหรับกรณีเกษียณอายุ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยหรือว่างงาน
บริษัทได้รับรางวัล “สถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน” จากกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 16 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการจัดโครงการสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีการเลี้ยงดูครอบครัวอย่างมั่นคง เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและรักษาขวัญกําลังใจและแรงจูงใจ ของพนักงานให้อยู่ในระดับสูงและทำงานกับบริษัทยาวนานขึ้น
ในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยการสนับสนุนคนพิการมีแนวทางการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม การจัดงานให้เหมาะสมกับคนพิการ โดยคนพิการสามารถทำงานในถิ่นที่พำนัก ตามปณิธานสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อคนพิการ
ก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนที่อยู่อาศัย
โดยทางบริษัทให้การสนับสนุนกลุ่มผู้พิการในปี 2566 จำนวน 23 คน และแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1. ตามมาตรา 33 : บริษัทได้ดำเนินการรับผู้พิการเข้ามาเป็นพนักงานบริษัท จำนวน 4 คน
2. ตามมาตรา 35 : บริษัทให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จำนวน 19 คน
สำหรับโครงการสวัสดิการที่จัดให้แก่พนักงาน มีดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ | ด้านสาธารณสุข | ด้านครอบครัว | สิ่งอำนวยความสะดวกและอื่น ๆ |
ผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ | ประกันชีวิตกลุ่ม | สิทธิในการลาพักร้อน ลาป่วย ลาคลอด | เครื่องแบบพนักงาน |
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | การตรวจสุขภาพประจําปี | เงินช่วยเหลือต่าง ๆ ได้แก่ เงินช่วยกรณีอุปสมบท เงินช่วยกรณีคลอดบุตร เงินช่วยกรณีแต่งงาน เงินช่วยกรณีพนักงาน เสียชีวิต |
โรงอาหารและสินค้าอุปโภค บริโภคที่ถูกสุขลักษณะและราคาถูก |
กองทุนประกันสังคม | การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง | กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ ครอบครัวพนักงาน |
รถรับส่งพนักงาน |
กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์พนักงาน | ค่ารักษาพยาบาลและทันตกรรม | เงินชดเชยกรณีพนักงานเสียชีวิต | กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานกีฬาสี งานเลี้ยงปีใหม่ เป็นต้น |
ค่ากะกลางคืน | ห้องพยาบาลพร้อมเจ้าหน้าที่ พยาบาลวิชาชีพ |
กิจกรรมส่งเสริมด้านประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมวันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา เป็นต้น | |
เบี้ยขยัน | อุปกรณ์ทางการแพทย์และ เวชภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน |
||
ค่าอายุงาน | เครื่องกระตุกหัวใจ (AED) | ||
ค่าอาหาร | อุปกรณ์ออกกําลังกาย | ||
ค่าครองชีพ | |||
รางวัลพนักงานทํางานครบ 15 ปี | |||
โครงการต่ออายุเกษียณพนักงาน | |||
โบนัสพิเศษ | |||
โครงการสมัครใจเกษียณอายุก่อนกำหนด |
อัตราการลาออกของพนักงาน
การลาออกของพนักงานโดยความสมัครใจจำแนกตามเพศสำหรับปีการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน มีดังต่อไปนี้
พนักงานที่ลาออกโดยความสมัครใจ | 2566 | 2565 | 2564 | |
เพศหญิง | จำนวนคน | 159 | 185 | 143 |
ร้อยละ | 76.08% | 74.00% | 68.75% | |
เพศชาย | จำนวนคน | 50 | 65 | 65 |
ร้อยละ | 23.92% | 26.00% | 31.25% | |
รวม | จำนวนคน | 209 | 250 | 208 |
ข้อพิพาทด้านแรงงาน
ไม่พบข้อพิพาท